จัดฟันบางนา: การขบเคี้ยวแรงๆ ทำให้รากฟันเทียมอักเสบการดูแลรักษาช่องปากและฟันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฟันของเราจะอยู่คู่กับเราไปตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะฟันจะต้องใช้ในการบดเคี้ยวอาหารหรือรับประทานอาหาร แต่หากเรามีฟันที่ไม่แข็งแรง มีปัญหาสุขภาพฟัน ก็จะมีผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้รู้สึกไม่เจริญอาหารหรือเกิดปัญหาการเบื่ออาหารได้ และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันสามารถทำได้ง่าๆเพียงแค่แปรงฟันให้ถูก ภายวิธีหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้งและก่อนเข้านอน รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้ารับการจัดฟันหรือผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
รวมไปถึงผู้ที่สุขภาพฟันที่แข็งแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพฟัน ก็จะต้องมีการระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพฟันเช่นเดียวกัน หากเรารับประทานอาหารที่มีความแข็งมากเกินไปและจะต้องใช้แรงในการบดเคี้ยวแรงๆ อาจจะส่งผลทำให้ฟันเกิดหักหรือแตกได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับฟันอย่างแน่นอน เพราะการที่ฟันหักหรือแตกนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ในอนาคต ทำให้คุณมีปัญหาฟันและอาจจะต้องนำไปสู่การสูญเสียฟัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาฟันเช่น กระดูกฟันละลายหรือเป็นโรคเหงือกอักเสบ รวมไปถึงจะทำให้ประสิทธิภาพในการรับประทานอาหาร การพูด ลดลงทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เนื่องจากไม่มีฟันในการบดเคี้ยวอาหารนั่นเอง
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น จัดเป็นฟันเทียมชนิดติดแน่นและใส่เพื่อทดแทนสารธรรมชาติที่สูญเสียไปให้สามารถมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ออกเสียงพูด รวมไปถึงช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการล้มเอียงของฟันที่อยู่บริเวณข้างเคียง ทำให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตและยังสามารถช่วยชะลอการละลายตัวของกระดูกฟันบริเวณที่ทำการรักษาได้ ภายหลังจากการฝังรากฟันเทียมแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลตัวเองและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานอาหารจะต้องมีความระมัดระวัง เพราะการที่ผู้เข้ารับการรักษาบดเคี้ยวอาหารแรงๆ หรือรับประทานอาหารที่มีความแข็ง จะทำให้รากฟันเทียมเกิดการขยายหรือทำให้รากฟันเทียมหลุดได้ เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ
ถ้าหากผู้เข้ารับการรักษาออกแรงในการบดเคี้ยวอาหารหรือรับประทานอาหารที่มีความแข็ง ก็จะส่งผลให้รากฟันเทียมเกิดการอักเสบได้ นอกจากนี้อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ทำการฝังรากฟันเทียมทำให้ทันตแพทย์จะต้องทำการถอดรากฟันเทียมออก เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ซึ่งก็จะถือว่าเป็นการทำให้เสียเวลาในการรักษาและการที่ทันตแพทย์จะทำการฝังรากฟันเทียมใหม่ให้อีกครั้ง ก็จะต้องทำการพักฟื้นหรือบางครั้งอาจจะต้องทำการปลูกกระดูกเพิ่ม เนื่องจากกระดูกขากรรไกรเกิดการเสียหายแล้ว ซึ่งถือว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรในการพักฟื้นและการทำการฝังรากฟันเทียมใหม่อีกรอบ
เพราะฉะนั้นวิธีการดูแลรักษา รากฟันเทียมให้มีความปลอดภัยและการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ดีที่สุดคือ การปฎิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ไม่รับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดผลเสียต้องรากฟันเทียม รวมไปถึงปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ผู้เข้ารับการรักษาควรมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี เนื่องจากการเข้ารับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงหรือเป็นผู้ป่วยจิตเภท รวมไปถึงผู้ที่มีพฤติกรรมประวัติการสูบบุหรี่จัดหรือผู้เข้ารับการรักษาที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม รวมไปถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่สามารถดูแลรักษาความสะอาดของสุขภาพช่องปากและฟันเทียมได้ให้อยู่ในสภาพที่ดี
ดังนั้นการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจึงไม่สามารถทำได้ในผู้ที่สูญเสียฟันทุกราย แต่จะต้องอยู่ในการพิจารณาของทันตแพทย์ว่าผู้เข้ารับการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้ แต่หากคุณสนใจเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฟังรากฟัเทียมสามารถเข้าขอคำแนะนำจากทางคลินิกได้เพราะเรามีทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษารวมไปถึงสามารถประเมินสุขภาพฟันเบื้องต้นให้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น