โรคความดันโลหิตสูง ปล่อยไว้นาน อาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ปล่อยไว้นาน อาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันเลือดสูงกว่าปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการใดๆ แต่บางรายอาจมีอาการได้ เช่น ปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ เพื่อควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะหากปล่อยไว้นาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
ความดันโลหิตสูง คืออะไร
ความดันโลหิตสูง คือภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันเลือดสูงกว่าปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท มักไม่แสดงอาการ แต่สามารถสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ โดยอาจนำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือดหรือหลอดเลือดแตกได้ จึงถือว่าถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องควบคุม
ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
อารมณ์ ความเครียด จะส่งผลให้ความดันเลือดสูงผิดปกติ
ประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
รับประทานเกลือมากเกินไป อาหารรสจัด
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือภาวะไขมันในเลือดสูง
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สูบบุหรี่
พักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการใดๆ แต่บางรายพบว่ามีอาการปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งหากทิ้งไว้นาน โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
ภาวะแทรกช้อนจากโรคความดันโลหิตสูง
หัวใจ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ไต อาจเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
สมอง อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต
ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา
ภาวะแทรกช้อนจากโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.กลุ่มไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) พบมากกว่า 90% พบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่
2.กลุ่มที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) พบได้น้อย โดยพบในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น
ผู้ที่มีปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
โรคไต, หลอดเลือดที่ไตตีบ
เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต
โรคต่อมไทรอยด์
ความผิดปกติของหลอดเลือด
ภาวะอ้วนลงพุง
ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคไข้หวัด ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด และยาอื่นๆ
การใช้สิ่งเสพติดที่ผิดกฎหมาย ตัวอย่าง เช่น โคเคน และยาบ้า
จะรู้ได้อย่างไรว่าความดันโลหิตสูง
ตารางแสดงค่าความดันโลหิต
ประเภท ความดันโลหิตตัวบน (มม.ปรอท) ความตันโลหิตตัวล่าง (มม.ปรอท)
ความดันโลหิตที่ดี ต่ำกว่า 120 และ ต่ำกว่า 80
ความดันโลหิตปกติ 120 – 129 และ/หรือ 80 – 84
ความดันโลหิตค่อนข้างสูง 130 – 139 และ/หรือ 85 – 89
ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย (ระยะที่ 1) 140 – 159 และ/หรือ 90 – 99
ความดันโลหิตสูงปานกลาง (ระยะที่ 2) 160 – 179 และ/หรือ 100 – 109
ความดันโลหิตสูงมาก (ระยะที่ 3) ตั้งแต่ 180 ขึ้นไป และ/หรือ ตั้งแต่ 110 ขึ้นไป
ความดันโลหิตสูง ต้องกินยาไปตลอดชีวิต จริงไหม?
ไม่จริง แต่ต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งหัวใจ สมองและไตได้ จึงจำเป็นที่ต้องรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง
ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อรักษาระดับความดันโลหิตเฉลี่ยให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าแพทย์พิจารณาเห็นว่าผู้ป่วยมีความดันลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ รวมถึงภาวะทางร่างกายและโรคร่วมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคุมได้ดีแล้ว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ปริมาณไขมันในเลือด แพทย์อาจพิจารณาลดยาความดันโลหิตบางอย่างลง จนในที่สุดผู้ป่วยก็สามารถหยุดยาได้ตามที่แพทย์เห็นสมควร
ความดันโลหิตสูง จะต้องปวดหัว จริงไหม?
ไม่จริง เนื่องจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการใดๆ
ความดันโลหิตสูง พบในผู้สูงอายุเท่านั้น จริงไหม?
ไม่จริง เนื่องจากสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ส่วนหนึ่งเกิดจากโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดและฮอร์โมน จึงสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ
ความดันโลหิดสูง หายขาคได้ไหม?
ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิดสูงที่ทราบสาเหตุ เช่น เนื้องอกของต่อมหมวกไต หากได้รับการผ่าตัดแก้ไข สามารถหายได้ แต่ในกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควบคุมได้ ด้วยการรับประทานยาเป็นประจำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
วิธีดูแลตัวเอง สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
เปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วน งดบุหรี่เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปรับยาเอง
วัดความดันโลหิตเป็นประจำ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันความดันโลหิตสูง
ลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กก/ตรม
ควบคุมอาหาร จำกัดเกลือในอาหาร รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา และผลไม้รสหวาน
ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดินเร็วๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 2 Drinks/วัน ในผู้ชาย (Ethanol 30 กรัม/วัน เช่น เบียร์ 720 มล., ไวน์ 300 มล., วิสกี้ที่ยังไม่ผสม 90 มล.) และไม่เกิน 1 Drink/วัน ในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย
เลิกสูบบุหรี่