อาหารสุขภาพ เพิ่มแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกการเลือกรับทานอาหารที่มีประโยชน์ ถือเป็นเรื่องที่ดีและส่งผลดีต่อร่างกายทำให้เราปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ รวมไปถึงร่างกายของเรายังได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายทำให้ร่างกายมีพลังงาน และเราก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ ในชีวิตประจำวันของเราจะต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเป็น การเดินการนั่งหรือการวิ่ง ซึ่งส่งผลต่อกระดูก ซึ่งอาหารของกระดูกนั้นก็คือแคลเซียม ที่จะมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกของเรา โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมจะช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจจะส่งผลดีต่อการทำงานของร่างกายและส่วนยกตัวอย่าง เช่น กระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ และหัวใจ นอกจากนมแล้วอาหารชนิดอื่นๆ ก็ยังมีปริมาณแคลเซียมที่สูง
ดังนั้นเราควรศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อที่จะได้เลือกรับประทานอาหารได้อย่างหลากหลาย ซึ่งภายในร่างกายของเรานั้นควรได้รับแคลเซียม หากเฉลี่ยแล้วร่างกายควรได้รับในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น เด็กอายุไม่เกิน 3 ปีควรที่จะได้รับ 400-800 มิลลิกรัมต่อวัน ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ควรได้รับ 800-1000 มิลลิกรัมต่อวัน หญิงตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมบุตรควรจะได้รับ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน ควรได้รับแคลเซียมในแต่ละวันคือ 1000-1200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งปัจจัยต่างๆก็ยังมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายจะขึ้นอยู่กับ ความสามารถในกระบวนการการขับสารออกและการดูดซึมสาร ซึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายก็คือ ปริมาณวิตามินดีในร่างกายที่ได้รับ ความเป็นกรดในอาหาร แลคโตสจากนมสด อัตราส่วนของแคลเซียมตอบฟอสฟอรัสและความต้องการแคลเซียมของร่างกายในขณะนั้น ซึ่งร่างกายของวัยรุ่นและผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรอาจดูดซึมแคลเซียมได้ถึง 50 %
หลายคนคิดว่าแคลเซียมไม่ได้มีผลต่อร่างกายมากและหลายคนก็เกิดความสงสัยว่าถ้าหากเรารับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอหรือมากเกินไปจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้างต้องบอกก่อนว่า การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจยังไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติภายในร่างกายได้ เนื่องจากร่างกายยังสามารถรักษาระดับแคลเซียมในเลือดไว้ได้โดยอาศัยแคลเซียมจากกระดูก แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานๆอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงจนทำให้กระดูกบางและแตกหักได้ง่ายและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ภาวะพร่องแคลเซียมอย่างรุนแรง และอาจเกิดอาการชาบริเวณปลายนิ้ว หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือชัก เป็นต้น
ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรงหรือในกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการรักษาจากโรคอื่นๆ ทั้งนี้ผู้ที่มีภาวะพร่องแคลเซียมอาจจะเสี่ยงเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รักการรักษาอย่างเหมาะสม ส่วนการได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากจนเกินไปนั้นอาจจะเป็นสาเหตุของอาการท้องผูก ซึ่งจะส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายและอาจเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต มะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม เราควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ซึ่งธัญพืช ที่ประกอบด้วยแคลเซียมที่มากที่สุดก็คือ สาคูเม็ดเล็ก บะหมี่สด ปลายข้าวเจ้า จมูกข้าวสาลีอบ ข้าวโอ๊ต ต่อมาเป็นพืชที่มีแคลเซียมมากที่สุดก็คือ หัวผักกาดแห้งชนิดเค็ม มันเทศสีเหลือง เผือกและแป้งมันสำปะหลัง หัวผักกาดแห้งชนิดหวาน หัวผักกาดและหัวไชเท้าสด สำหรับในกลุ่มถั่วและเมล็ดพืชผลไม้เปลือกแข็งที่มีแคลเซียมมากที่สุดก็คืองาดำอบ งาดำดิบ ถั่วเน่าและหรือถั่วเหลืองดิบ
นอกจากนี้ผักผลไม้ก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกัน หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผักที่ประกอบด้วยแคลเซียมมากที่สุด นั่นก็คือใบชะพลู ผักแพวใ บยอ มะขามฝักอ่อนและผักกระเฉด สำหรับผลไม้ที่มีแคลเซียมมากที่สุดนั่นคือ มะขามหวาน ทุเรียนกวนพันธุ์ก้านยาว มะขามเทศชนิดมัน เสาวรส ลูกหว้า ส่วนในอาหารประเภทไข่ ก็คือ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่ไก่ นอกจากนี้กลุ่มเครื่องเทศเครื่องปรุงรสก็มีแคลเซียมประกอบด้วยมันก็คือ ใบมะกรูด ลูกผักชี ใบโหระพา ผิวมะกรูดและดอกจันทร์ ทั้งหมดนี้ก็เป็นอาหารที่มีแคลเซียมมากที่สุดและยังเป็นอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือบุคคลที่ต้องการแคลเซียมมากๆ สำหรับแคลเซียมนั้นแร่ธาตุที่สำคัญและพบมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์โดยประมาณ 99% ของแคลเซียมในร่างกายเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ซึ่งแคลเซียมจะทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างเช่น เพิ่มความหนาแน่นและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ทั้งยังช่วยควบคุมการทำงานของหลอดเลือด และกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ควบคุมการเต้นของหัวใจและยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ด้วย
อย่างไรก็ตามอยากเห็นคนไทยทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายของเราอาจจะเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และควรเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากการรับประทานอาหาร