โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease หรือกลุ่มโรค CADs) คือกลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้ ซึ่งหากเกิดการอุดตันหลอดเลือดแดงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (Heart Attack) จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองตาย เนื่องจากขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตได้ทันที
โรคของหลอดเลือดทั่วร่างกายและหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่โรคของหลอดเลือดจะเป็นที่หลอดเลือดหัวใจ สมอง แขน ขา และช่องท้อง โรค CVDs สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อน เพื่อการแปลสัญญาณของอาการที่อาจจะเข้าข่าย ได้แก่
1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
คือภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นจากอาการภูมิแพ้หรือมีคราบหินปูนที่เกาะสะสมในหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแม้ไม่ออกแรงหรือนั่งอยู่เฉยๆ ที่จะมีอาการเจ็บอาจร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม อาการเจ็บใจสั่น เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ไปจนเกิดอาการช็อกหมดสติฉับพลัน
โดยมีปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรค 2 ปัจจัย คือ
– ไขมันสะสมพอกผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน เกิดการอักเสบเรื้อรังที่เซลล์หลอดเลือดมีสาเหตุแรกๆ จากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง รองลงมาคือการบริโภคน้ำมันแปรรูปที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงเป็นประจำ เช่น น้ำมันพืชที่จะมีสารโอเมก้า 6 โดยทั้ง 2 สภาวะที่กล่าวนี้หากเกิดเป็นภาวะเรื้อรังนอกจากจะเป็นพิษต่อเซลล์หลอดเลือดแล้วยังส่งผลต่อเซลล์ทุกระบบในร่างกายเช่นกัน สามารถรับรู้ความเสี่ยงหรือป้องกันจากการตรวจสุขภาพในรายการตรวจ C-reactive protein (CRP) และรายการตรวจ Homocyteine (HCY) หากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมใน 2 รายการนี้ให้เป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงที่รุนแรงของโรค
– การหดตัวของหลอดเลือด
2. โรค Rheumatic Heart
เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจต่างๆ จากโรคไข้ Rheumatic (Rheumatic fever) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcal Bacteria กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านเซลล์หัวใจตนเองและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ
3. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้ป่วยมีอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น
4. โรคหัวใจที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือตั้งแต่เกิด (Congenital Heart Disease)
เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีประวัติการเป็นตั้งแต่เกิด ที่เกิดจากการสร้างหัวใจที่ผิดปกติในช่วงขั้นตอนการสร้างอวัยวะขณะตั้งครรภ์ของมารดา
“สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/