สินค้าโรงงานราคาโปรโมชั่น ลงประกาศสินค้าราคาส่ง
หมวดหมู่ทั่วไป => โพสต์กระทู้ฟรี ประกาศฟรี ทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 5 มกราคม 2025, 13:26:08 น.
-
โรคหัวใจมีกี่ชนิด ? อาการแบบนี้ เสี่ยงชนิดไหน! (https://doctorathome.com/disease-conditions/252)
โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิดดังนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ เหนื่อย อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าผิดปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม มักมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ บวมตามแขน ขา นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นม เลี้ยงไม่โต
โรคลิ้นหัวใจ หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมาก จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้
โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจโต และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการใจสั่น 7 สาเหตุของอาการนี้
อาการใจสั่น เกิดจากการที่หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเบาเกินไป หรือแรงเกินไป เต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน มีความเครียด หรือแม้กระทั่งผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคได้ สาเหตุของอาการใจสั่น เกิดจากอะไรได้บ้าง?
อาการใจสั่น
1. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจของคุณจะเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจสั่นที่ทำให้เรารู้สึกได้
2. การรับประทานยาบางชนิด
ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความดัน เป็นต้น ซึ่งหากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้ใจสั่นได้
3. ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
หากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายอาจมีอาการ มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ใจหวิวๆ เหมือนใจสั่นได้
4. ความเครียด วิตกกังวล โรคแพนิค
ทั้งสองปัจจัยนี้ มีผลเร่งการเต้นของหัวใจหลั่งออกมา เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะเผชิญความกลัว แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายก็ตาม ส่งผลให้เกิดอาการ ใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก สั่น หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกได้ โดยอาการนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็นโรคใด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
5. ได้รับคาเฟอีนมากเกิน
เพราะคาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจทำให้ใจสั่นได้ นอกจากกาแฟแล้ว คาเฟอีนยังพบจากอาหารหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ได้อีก เช่น ชา ช็อกโกแลต โซดา เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เป็นต้น
6. มีไข้ ติดเชื้อ
การมีไข้มากกว่า 37.8°C เป็นหนึ่งในสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อคุณป่วย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้หัวใจสูบฉีดแรงและเร็วขึ้นได้
7. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ Arrhythmia ภาวะที่หัวใจเต้นไม่ปกติ อาจเร็วไปหรือช้าไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน
โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการใจสั่น เนื่องจากหัวใจเต้นเร็วเกินไป
อาการใจสั่น อาจดูเหมือนเรื่องเล็กแต่แท้จริงแล้วอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น ความเครียด โรคหัวใจ ฮอร์โมนไม่สมดุล หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ โรงพยาบาลศิครินทร์ของเราพร้อมดูแลคุณด้วยการตรวจสุขภาพหัวใจแบบครบวงจร ทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การวิเคราะห์ระบบไหลเวียนโลหิต และคำปรึกษาจากทีมแพทย์เฉพาะทาง อย่าปล่อยให้อาการใจสั่นกระทบชีวิตประจำวันของคุณ ติดต่อเราเพื่อรับการดูแลและโปรโมชั่นตรวจสุขภาพหัวใจสุดคุ้ม